ประเทศกัมพูชา
ข้อมูลประเทศกัมพูชา
กัมพูชา หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศใต้จรดกับอ่าวไทย ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทางทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทางทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม กัมพูชาเป็นอดีตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงแค่ประเทศเดียวเท่านั้นที่มีการปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
แผนที่ประเทศกัมพูชา
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาอันนัม กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่
ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย ด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตรทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น
เดือนตุลาคมมีฝนตกมากที่สุด
การแบ่งเขตปกครอง
ประเทศกัมพูชาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 จังหวัด (เขต: provinces; khet) และ4เทศบาล*(กรุง:municipalities; krung)
ชื่อ
|
เมืองเอก
|
พื้นที่ (km²)
|
ประชากร
(ปี 2541) |
1. บันทายมีชัย / บันเตียเมียนเจย(Banteay Meanchey)
|
6,679
|
577,772
| |
2. พระตะบอง / บัดด็อมบอง(Battambang)
|
11,702
|
793,129
| |
3. กำปงจาม / ก็อมปวงจาม (Kampong Cham)
|
9,799
|
1,608,914
| |
4. กำปงชนัง / ก็อมปวงชนัง (Kampong Chhnang)
|
5,421
|
417,693
| |
5. กำปงสปือ / ก็อมปวงสปือ (Kampong Speu)
|
7,017
|
598,882
| |
6. กำปงธม / ก็อมปวงต็วม (Kampong Thom)
|
13,814
|
569,060
| |
7. กำปอด / กำโพธิ (Kampot)
|
4,873
|
528,405
| |
8. กันดาล / ก็อนดาล (Kandal)
|
3,568
|
1,075,125
| |
9. เกาะกง / เกาะฮฺกง (Koh Kong)
|
11,160
|
132,106
| |
10. แกบ* (Kep)
|
-
|
336
|
28,660
|
11. กระแจะ (Kratié)
|
11,094
|
263,175
| |
12. มณฑลคีรี / ม็อนด็อลกิรี (Mondulkiri)
|
14,228
|
32,407
| |
13. อุดรมีชัย / โอดดาร์เมียนเจีย (Oddar Meancheay)
|
6,158
|
68,279
| |
14. ไพลิน* (Pailin)
|
-
|
803
|
22,906
|
15. พนมเปญ / พนุมเป็ญ* (Phnom Penh)
|
-
|
376
|
2,009,264
|
16. สีหนุวิลล์ / กรุงพระสีหนุ / ก็อมปงโซม* (Sihanoukville, Kampong Som)
|
-
|
868
|
235,190
|
17. พระวิหาร / เปรียะฮ์วิเหียร์ (Preah Vihear)
|
13,788
|
119,261
| |
18. โพธิสัตว์ / โพธิ์ซัด (Pursat)
|
12,692
|
360,445
| |
19. เปรยแวง (Prey Veng)
|
4,883
|
946,042
| |
20. รัตนคีรี (Ratanakiri)
|
10,782
|
94,243
| |
21. เสียมราฐ / เสียมเรียบ (Siem Reap)
|
10,299
|
696,164
| |
22. สตึงแตรง (Stung Treng)
|
11,092
|
81,074
| |
23. สวายเรียง (Svay Rieng)
|
2,966
|
478,252
| |
24. ตาแก้ว (Takéo)
|
3,563
|
790,168
|
ประชากร 14,071,000 (ก.ค. 2548)
เชื้อชาติ
ชาวเขมร 85% ชาวญวน 5% ชาวจีน 5 % อื่นๆ เช่นชาวไทย ชาวลาว ชาวจาม ชาวจะราย ชาวระแดว์ ชาวเสตียง ชาวเมฺรญ และชาวเปือร์ 3% เป็นต้น
ภาษา
ภาษาเขมรเป็นภาษาทางการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน
ศาสนา
รัฐธรรมนูญกัมพูชาบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา 95% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาคริสต์ 1.7% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.3%
เชื้อชาติ
ชาวเขมร 85% ชาวญวน 5% ชาวจีน 5 % อื่นๆ เช่นชาวไทย ชาวลาว ชาวจาม ชาวจะราย ชาวระแดว์ ชาวเสตียง ชาวเมฺรญ และชาวเปือร์ 3% เป็นต้น
ภาษา
ภาษาเขมรเป็นภาษาทางการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน
ศาสนา
รัฐธรรมนูญกัมพูชาบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา 95% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาคริสต์ 1.7% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.3%
เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2552 จากการคาดการณ์ของหลายสถาบันมีความแตกต่างกัน เช่น IMF คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตจะติดลบ ร้อยละ 0.5 (-0.5%) เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ผลคือการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2009 ลดลงร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2008 โดยยอดส่งออกไปสหรัฐอเมริกาซึ่งมีมูลค่าปีละ 1,967 ล้านดอลลาร์ฯ(ร้อยละ 66.5 ของยอดส่งออกรวม) ลดลงร้อยละ 30 ทำให้รัฐบาลต้องยอมออกมาประกาศปรับตัวเลขประมาณการอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจ จากร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 2
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัว เช่นเดียวกับภาคเกษตรกรรม และภาคบริการจากการท่องเที่ยวที่ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเสียมเรียบในระยะ 6 เดือนแรกของปีนี้มีจำนวน 503,000 คน ลดลงจาก 578,700 คน ของระยะเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 13 โดยนักท่องเที่ยวที่ลดลงมากคือเกาหลี แต่นักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากถึงร้อยละ 30 คือนักท่องเที่ยวเวียดนามที่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้สะดวกและมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง กล่าวคือสามารถเดินทางโดยตรงทางรถยนต์และสายการบินแห่งชาติกัมพูชาในนาม Cambodia Angkor Air (การร่วมทุนระหว่างนักลงทุนเวียดนามและรัฐบาลกัมพูชา) รวมถึงการยกเว้นทำวีซ่าระหว่างเวียดนามและกัมพูชา นอกจากนี้ได้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาทางเรือสำราญ จากสถิติในปี 2008 ซึ่งมี่จำนวน 25 ลำ นักท่องเที่ยว 14,159 คน เป็นจำนวน 15 ลำในระยะ 6 เดือนแรก หรือเพิ่มร้อยละ 46 ทำให้รัฐบาลเล็งที่จะขยายท่าเรือที่จังหวัดเกบ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวดังกล่าว อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยวลดลงนั้นเป็นปัญหาที่กระทบจากปัจจัยวิกฤตเศรษฐกิจโลก ปัจจัยด้านการเมืองของประเทศไทยซึ่งเป็นประตูด้านการบินจากยุโรป มายังกัมพูชา ปัญหาข้อพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชา รวมถึงผลกระทบจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ CAMKO CITY มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งแจ้งว่าได้ขายโครงการส่วนแรกจำนวน 700 หน่วยไปแล้วร้อยละ 80 ในราคาหน่วยละ 140,000-300,000 ดอลลาร์ฯ ได้ประกาศหยุดการก่อสร้างไว้ระยะหนึ่งจนกว่าสถานการณ์ด้านการเงินของบริษัทจะเป็นปกติ ขณะที่โครงการที่ยังไม่ได้เริ่มต้นก่อสร้าง ก็ไม่มีวี่แววของการก่อสร้าง แม้ว่ารัฐบาลจะออกประกาศผ่าน พรบ.ให้ต่างชาติมีกรรมสิทธิ์บนพื้นที่เหนือจากพื้นดิน 1 ชั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ตา
การก่อสร้างโรงแรมในจังหวัดเสียมเรียบ จำนวน 7 โรงแรม คงดำเนินการต่อไปซึ่งส่วนใหญ่เป็นของนักลงทุนกัมพูชา ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จจะทำให้จำนวนห้องพักในเสียมเรียบเพิ่มอีก 2,700 ห้องจากจำนวนโรงแรมที่มีอยู่ 116 โรงแรม จำนวนห้องพัก 8,000 กว่าห้อง